การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสาหรับประเทศไทย

Tuesday, 28 August 2012 Read 2827 times Written by 

การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสาหรับประเทศไทย

อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์
ปริญญารัตน์ เลี้ยงเจริญ
พิศสม มีถม

รายละเอียดโครงการ :
หลายประเทศมีแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเร่งดาเนินการให้ภาคการผลิตมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเหมาะสม ในอดีตอาจมีความเข้าใจว่าภาคเศรษฐกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่มากควรทาการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่การดาเนินการในลักษณะดังกล่าวอาจเป็นมาตรการที่ขาดประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ควรเน้นให้ภาคเศรษฐกิจที่มีต้นทุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่าทาการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้เพื่อให้การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีต้นทุนต่าและสร้างภาระให้กับผู้ประกอบการน้อยที่สุด

การดำเนินนโยบายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามหลักทางเศรษฐศาสตร์ที่คานึงถึงประสิทธิภาพที่กล่าวข้างต้นนั้น การดาเนินนโยบายยังต้องคานึงถึงความเป็นธรรมในการพิจารณาว่าใครเป็นผู้รับภาระในการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและใครเป็นผู้ได้ประโยชน์ ดังนั้น การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่เหมาะสมควรวิเคราะห์ถึงโครงสร้างทางสังคมและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย เช่น การพิจารณาเก็บภาษีจากผู้ประกอบการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือการให้เงินช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ดาเนินไปอย่างเป็นธรรม ดังนั้น ประเทศจึงควรมีการศึกษาถึงแนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อให้การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีต้นทุนต่า และเป็นมาตรการที่สร้างความเป็นธรรมในสังคม

การศึกษานี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการศึกษาทาการวิเคราะห์ การศึกษาต้นทุนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีลักษณะข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) โดยใช้ตัวอย่างการคานวณต้นทุนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผู้ประกอบการภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM)

ผลของการศึกษาพบว่าต้นทุนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตต่างๆ สาหรับโครงการ CDM มีช่วงความแตกต่างที่ค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่ 16 บาท/หน่วย จนถึง 27,343 บาท/หน่วย แสดงให้เห็นว่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละสาขาการผลิตนั้น มีต้นทุนในการลดที่แตกต่างกัน โดยต้นทุนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยสูงที่สุดคือภาคพลังงานที่ผลิตไฟฟ้า รองลงมาคือ ภาคอุตสาหกรรม และภาคพลังงาน (เกษตร) ภาคพลังงาน (อุตสาหกรรม) และภาคของเสียและสิ่งปฏิกูล ดังนั้น แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพสาหรับประเทศไทยคือการส่งเสริมการดาเนินการโครงการ CDM ที่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน (อุตสาหกรรม) และภาคของเสียและสิ่งปฏิกูล

อย่างไรก็ตาม การดาเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องใช้เครื่องมือหลายแบบควบคู่กัน ทั้งที่เป็นเครื่องมือทางกฎหมาย ทางสังคม ทางเศรษฐศาสตร์ และการสร้างจิตสานึก รวมถึงการสนับสนุนเพื่อสร้างองค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพในการดาเนินการ และกลไกการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มุ่งไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในการศึกษานี้เสนอแนวทางการดาเนินการที่ต้องคานึงถึงโครงสร้างต้นทุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมมาเชื่อมโยงกันทาให้มีรูปแบบในการกาหนดมาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่พิจารณาถึงประเด็นด้านประสิทธิภาพและความเป็นธรรม โดยมีแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ ได้แก่ การลดการสนับสนุนกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพัฒนาระบบการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศ การเก็บภาษีภาคพลังงาน การกาหนดค่าไฟฟ้าแบบอัตราก้าวหน้า การเก็บภาษีรถยนต์จากการปล่อยไอเสีย การจัดตั้งกองทุน Thailand Greenhouse Gas Fund (TGF) และระบบพันธบัตรป่าไม้ Thailand Forest Bond (TFB) รวมถึงการกาหนดให้ราคารับซื้อเพิ่มไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีอัตราเท่ากันสาหรับพลังงานหมุนเวียนทุกประเภท นอกจากนี้ การดาเนินการมีการคานึงถึงความเป็นธรรมในสังคมในการให้การสนับสนุนด้านการเงินในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรกรรมและป่าไม้อย่างยั่งยืน

การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเริ่มต้นของการศึกษาต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเศรษฐกิจต่างๆ โดยใช้ตัวอย่างโครงการ CDM ซึ่งมีข้อมูลต้นทุนและปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ ดังนั้น นักวิจัยที่สนใจสามารถนาไปศึกษาเพิ่มเติมสาหรับต้นทุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขาการเศรษฐกิจต่างๆ ได้ต่อไป อย่างไรก็ตามประโยชน์ที่เกิดจากการศึกษาต้นทุนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนระจกต่อประเทศไทย ได้แก่ หนึ่ง การทาให้ประเทศไทยมีแนวทางการใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้จะนาไปสู่การปรับตัวสอดคล้องกับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย สอง ผลการศึกษาจะนาไปสู่การดาเนินมาตรการที่จะเป็นการกระจายผลประโยชน์และต้นทุนที่เป็นธรรมกับประชาชนทุกระดับรายได้จากการดาเนินมาตรการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ และ สาม ในกรณีการเข้าร่วมพันธกรณีระหว่างประเทศจะทาให้ประเทศไทยสามารถกาหนดมาตรการเชิงรุกในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากกว่าการดาเนินมาตรการแบบตั้งรับจากแรงกดดันจากต่างประเทศ

คำหลัก : การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, ต้นทุนในการลดมลพิษ, โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด

สนับสนุนโดยสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ภายใต้ชุดโครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank