ปรับเปลี่ยนการเตือนภัยลุ่มน้ำลำตะคอง

Monday, 10 February 2014 Read 2108 times Written by 

ปรับเปลี่ยนการเตือนภัยลุ่มน้ำลำตะคอง

10 02 2014 5

นายชิดชนก สมประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 8 กรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้จัดทำโครงการ บูรณาการเพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเขตลุ่มน้ำลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ขึ้นภายหลังจากหลายอำเภอในพื้นที่ของ จ.นครราชสีมา ประสบปัญหาอุทกภัยใหญ่เมื่อปี 2553 จากเดิมที่มีเพียงชลประทานเป็นผู้ติดตามสถานการณ์ในอ่างเก็บน้ำและลำน้ำต่าง ๆ เพื่อรายงานต่อไปยังประชาชน ทำให้เกิดความล่าช้า จึงได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการใช้ความร่วมมือจากหน่วยงานทั่วทั้งจังหวัดในการช่วยกันติดตามสถานการณ์น้ำฝน-น้ำท่า และแจ้งเตือนภัยอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดให้ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ สำนักชลประทานที่ 8 เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลปริมาณน้ำฝนและวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้น เสนอต่อศูนย์เตือนภัยพิบัติจังหวัดนครราชสีมา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังและเตือนภัยตามรูปแบบและเกณฑ์เตือนภัยที่กำหนดไว้ร่วมกัน

ทั้งนี้จะเริ่มที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่มีเครื่องมือวัดระดับน้ำคอยตรวจวัดปริมาณน้ำฝนในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ เป็นผู้รวบรวมข้อมูลปริมาณฝนส่งให้ศูนย์ประมวลฯ สำนักชลประทานที่ 8 เป็นประจำทุกวันก่อนเวลา 08.00 น. ในช่วงฤดูน้ำหลาก ก่อนจะทำสรุปส่งให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติ จังหวัดนครราชสีมา เพื่อการแจ้งเตือนต่อไป นอกจากนี้ยังมีสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัด สนับสนุนอุปกรณ์วัดน้ำฝน เทศบาลนครราชสีมา และสื่อมวลชน ที่ช่วยเผยแพร่ข้อมูลต่อไป

“การดำเนินโครงการดังกล่าวร่วมกันทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์ ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป และไม่จำเป็นต้องเสียงบประมาณในการวางระบบเตือนภัยที่มีราคาแพง ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ดังนั้น หากมีการนำรูปแบบการดำเนินการเช่นนี้ขยายผลไปใช้กับจังหวัดอื่น ๆ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นแกนนำ ร่วมกับสำนักชลประทานที่อยู่ในพื้นที่ ย่อมทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ส่งผลให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยแบบยั่งยืนต่อไปได้” ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 8 กล่าวในที่สุด

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank