การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน

Wednesday, 02 January 2019 Read 3009 times Written by 

syn36

 

การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานทำได้อย่างไร

เป็นที่รู้กันดีแล้วว่า ก๊าซเรือนกระจกเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล คือน้ำมัน ภาคพลังงานจึงตกเป็นผู้ร้ายรายสำคัญที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมากสู่ชั้นบรรยากาศ และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เราไม่พอใจ คือทำให้โลกร้อนขึ้น

การแก้ปัญหาย่อมต้องแก้ที่สาเหตุ เมื่อโลกร้อนเพราะก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่งในหลายชนิดอย่างคาร์บอนไดออกไซด์ ก็ต้องหาทางลด วิธีลดทางหนึ่งคือการใช้พลังงานทดแทน

ประเทศไทยตั้งเป้าหมายและลงนามใน “ข้อตกลงปารีสเมื่อ ค.ศ. 2016 ว่า จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสถานการณ์ปกติลงให้ได้ร้อยละ 20 – 25 ภายใน ค.ศ. 2030 ด้วยการเน้นใช้แหล่งพลังงานทดแทนในประเทศให้มากขึ้น และพัฒนาวิธีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

มีผลงานวิจัยว่า ไทยจะลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ตามเป้าหมายโดยใช้พลังงานทดแทนตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2015) โดยหากลดการใช้พลังงานแบบเข้มงวด ผลผลิตจากอุตสาหกรรมก็จะลดลง รายได้ของประเทศก็จะลดลงด้วย ในทางตรงข้าม หากลดแบบไม่เข้มงวด ผลผลิตจากอุตสาหกรรมลดลงไม่มากนัก รายได้ของประเทศก็ไม่กระทบกระเทือนมากนักเช่นกัน มีข้อมูลเป็นรูปธรรมว่า หากตั้งเป้าหมายว่า ภายใน ค.ศ. 2030 จะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 20 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ คือมูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศช่วงเวลาหนึ่ง จะลดลงร้อยละ 0.2 หากตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 40 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศจะลดลงร้อยละ 3.1 เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม เพราะจะส่งผลต่อการกำหนดนโยบายและงบประมาณระดับประเทศ

หากจะเน้นการใช้พลังงานทดแทนอย่าง พลังงานแสงแดด พลังงานลม หรือพลังงานชีวมวลเป็นพลังงานทดแทนกันทั่วประเทศ ย่อมต้องศึกษาว่า จะใช้พลังงานประเภทใดจึงจะได้ผลดีที่สุด ทั้งแก่ประเทศชาติ ประชาชน และสิ่งแวดล้อม

การผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงแดดหรือลม ต้องใช้สถานที่กว้างใหญ่ ต้องลงทุนอุปกรณ์ทันสมัยซึ่งต้องสั่งจากต่างประเทศด้วย ดังนั้น การใช้พลังงานชีวมวลจึงน่าสนใจเป็นพิเศษ เพราะใช้เศษวัสดุทางการเกษตร อย่าง เศษไม้ แกลบ ชานอ้อย ใบและยอดอ้อย มีงานวิจัยเรื่องการใช้พลังงานทดแทนในโรงงานน้ำตาล ซึ่งใช้เทคโนโลยีเครื่องปั่นไฟประสิทธิภาพสูง ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอย่างชานอ้อย ใบและยอดอ้อยเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในโรงงาน ผลงานวิจัยแสดงว่า หากพัฒนาหม้อไอน้ำในโรงงานให้ดีขึ้น ใช้ยอด ใบอ้อย และชานอ้อยรวมแล้วร้อยละ 19 เป็นเชื้อเพลิง จะผลิตไฟฟ้าได้ 9 เทราวัตต์ต่อชั่วโมง และจะลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าได้ราวปีละ 4.8 ล้านตันต่อปี อีกทั้งการใช้หม้อไอน้ำแรงดันสูงจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลกำไรด้วย หากปรับขยายการผลิตไฟฟ้าแบบในโรงงานน้ำตาลมาใช้ในระดับสาธารณะได้ ก็จะได้ประโยชน์สองสถาน คือทั้งประหยัดเงิน และดีต่อสภาพแวดล้อมด้วย

อ้างอิง:

Chunark, P., Limmeechokchai, B., Fujimori, S., & Masui, T. (2017). Renewable energy achievements in CO2 mitigation in Thailand's NDCs. Renewable Energy, 114, 1294-1305.

Jenjariyakosoln, S., Gheewala, S. H., Sajjakulnukit, B., & Garivait, S. (2014). Energy and GHG emission reduction potential of power generation from sugarcane residues in Thailand. Energy for Sustainable Development, 23, 32-45.

Photo by eThailand

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank