ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากขยะ

Wednesday, 02 January 2019 Read 3571 times Written by 

syn27

 

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากขยะ

ประเทศไทยมีประชากรจำนวนมาก จึงมีปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่งคือขยะที่เกิดจากการกินการใช้  มีขยะเฉลี่ยปีละ 14.5 ล้านตัน ร้อยละ 40 – 65 เป็นขยะย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและ/หรือนำไปหมักทำปุ๋ยได้  เช่น  เศษอาหาร  มูลสัตว์  ซากหรือเศษของพืช  ผัก  ผลไม้  หรือสัตว์ เป็นต้น

ขยะคือของที่ผู้คนพากันทิ้ง ทว่า การจัดเก็บขยะเพื่อทำลายให้ถูกวิธียังทำได้ไม่ถึงร้อยละ 70 จึงมีขยะตกค้างตามที่ต่าง ๆ  หรือกองทิ้งอย่างไม่ถูกหลักสุขาภิบาล ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น หากทิ้งขยะใกล้แหล่งน้ำหรือขยะหล่นลงน้ำ น้ำก็จะเน่าเสียได้  ถ้าเผาขยะบนที่โล่งก็เกิดควันและมลพิษทางอากาศ  กองขยะไม่น่าดู มีกลิ่นเหม็น และเป็นแหล่งพาหะนำโรค  การจัดเก็บโดยการขนส่งไปยังสถานที่ทิ้่งหรือทำลายก็ยังก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกด้วย เพราะรถขนขยะใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

วิธีกำจัดขยะมูลฝอยโดยทั่วไปในไทยคือทิ้งแบบเทกองกลางแจ้งหรือฝังกลบในบ่อขยะ  เมื่อ ค.ศ. 2008 มีสถานที่กำจัดขยะ 425 แห่ง แบ่งเป็นลานทิ้งขยะ 330 แห่ง และบ่อขยะแบบฝังกลบ 95 แห่ง  การฝังกลบที่ถูกต้องคือ จะต้องเลือกพื้นที่เหมาะสม และไม่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อกันไม่ให้แหล่งน้ำปนเปื้อน  ต้องก่อสร้างบ่อขยะให้ถูกต้องตามหลักวิชาการคือ มีแผ่นพลาสติกปูรองก้นบ่อที่เป็นดินเหนียวอัดแน่น มีท่อรวบรวมน้ำเสียจากขยะเพื่อส่งไปบำบัด และมีท่อระบายก๊าซที่เกิดขึ้นเมื่อขยะย่อยสลาย  ก๊าซนี้ส่วนใหญ่คือมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก

มีผลงานวิจัยว่า การเปลี่ยนวิธีกำจัดขยะมูลฝอยจากการทิ้งแบบกองเทเป็นฝังกลบจะเพิ่มปริมาณก๊าซมีเทนมากขึ้น ปกติขยะที่กองให้ย่อยสลายจะก่อให้เกิดก๊าซมีเทนอยู่แล้ว แต่เมื่อฝังกลบจะมีก๊าซมีเทนเพิ่มราวสิบเท่า นักวิจัยใช้วิธีวัดตามเกณฑ์ต่าง ๆ ตามหลักวิชา ประเมินได้ว่า การฝังกลบขยะจะทำให้เกิดก๊าซมีเทนได้ราว 103 – 366 พันตันต่อปี  ทว่า การฝังกลบมีประโยชน์ตรงที่ควบคุมดูแลไม่ให้เกิดมลพิษอื่น ๆ ได้  ดังนั้นจึงน่าจะมีทางพัฒนาหาวิธีนำก๊าซมีเทนมาใช้ประโยชน์กันมากขึ้น  นักวิจัยประเมินว่า ในอนาคตไทยต้องการบ่อฝังกลบขยะอีกอย่างน้อย 20 แห่งเพื่อรองรับขยะให้ทันการ

ด้วยสภาพการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าว การบรรเทาปัญหาโลกร้อนอย่างยั่งยืนได้จึงต้องกำจัดขยะแบบครบวงจร เริ่มจากสร้างขยะให้น้อยที่สุด เช่น ไม่ใช้กล่องโฟม (การผลิตโฟมก่อสารซีเอฟซี และกว่ากล่องโฟมจะย่อยสลายได้ก็นานถึง 450 ปี) เลือกใช้สินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์น้อย เช่น ซื้อสบู่เหลวแบบเติม เลือกใช้ของที่ไม่บรรจุในกล่องหรือขวดพลาสติก เลือกซ่อมแซมเครื่องใช้แทนที่จะทิ้งแล้วซื้อใหม่ และใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เป็นต้น  การแยกขยะก็สำคัญ ต้องพิจารณาว่าเป็นขยะย่อยสลายได้ เป็นขยะที่นำไปผ่านกรรมวิธีให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือเป็นขยะที่ต้องกำจัด และที่ต้องไม่ลืมคือ ทิ้งขยะให้ถูกที่ด้วย อย่าให้เป็นเรื่อง ทิ้งขยะไม่ถูกที่ หมดราศีไปทั้งเมือง (ไทย)

อ้างอิง: Chiemchaisri, C., & Visvanathan, C. (2008). Greenhouse gas emission potential of the municipal solid waste disposal sites in Thailand. Journal of the Air & Waste Management Association, 58(5), 629-635.

Photo by Development Asia 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank