สวนแนวตั้งผนังลดโลกร้อน

Wednesday, 02 January 2019 Read 2320 times Written by 

syn35

 

สวนแนวตั้งผนังลดโลกร้อน

มีแต่ตึกน่าเกลียดทั้งเมือง ตึกยิ่งเยอะก็ยิ่งร้อน แม้ว่าทุกคนมีส่วนทำให้เมืองร้อน แต่เมื่อสถาปนิกได้ยินคำกล่าวเช่นนี้บ่อย ๆ ก็ต้องหาทางแก้  ในเมื่อการแก้ปัญหาเรื่องโลกร้อนไม่ใช่เรื่องของใครหรือองค์กรใดเพียงหนึ่งเดียว ทุกคนควรมีส่วนร่วมด้วยช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อให้ได้อยู่ในเมืองที่น่าอยู่ ไม่ร้อนจนเกินไป  ทุกวันนี้ เราจึงมีอาคารสีเขียว ทั้งแบบเขียวข้างในและเขียวข้างนอก เขียวข้างในคือ อาคารประหยัดไฟฟ้า ส่วนเขียวข้างนอกนั้นไม่ใช่ทาสีเขียว แต่เขียวจริงจังคือปลูกพืชเกาะผนังอาคารอย่างที่เรียกว่าผนังมีชีวิต ผนังต้นไม้ หรือสวนแนวตั้ง ซึ่งได้ประโยชน์หลายสถาน ทั้งลดการใช้พลังงานของอาคาร เพิ่มพื้นที่สีเขียวซึ่งดูสบายตาสบายใจ ช่วยลดอุณหภูมิ และเก็บกักคาร์บอนในเนื้อเยื่อพืชกับในดิน สำหรับเมืองที่มีพื้นที่น้อย โดยเฉพาะเมืองร้อน การทำสวนแนวตั้งจะได้ประโยชน์มากกว่าในเมืองหนาว

การปลูกพืชเกาะผนังอาคารไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถของมนุษย์ สวนแนวตั้งต้องใช้พืชขนาดเล็ก เช่น หญ้า เฟิร์น สมุนไพร ไม้ดอก และไม้พุ่มขนาดเล็ก ปลูกในกระถางหรือถุงชนิดพิเศษ แล้วแขวนเป็นแผงติดผนังอาคาร การเลือกชนิดพืชมีผลต่อการลดอุณหภูมิ นักวิจัยเก็บข้อมูล 6 เดือนช่วงฤดูหนาว ค.ศ. 2015 – ฤดูร้อน ค.ศ. 2016 ที่จังหวัดพิษณุโลกซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอากาศร้อนชื้น ได้ผลว่า สวนแนวตั้งช่วยให้ความเย็นเพราะผนังที่มีสวนมีอุณหภูมิต่ำกว่าผนังเปลือย ในฤดูหนาวลดอุณหภูมิได้เฉลี่ย 2.5 องศา และในฤดูร้อนลดได้ 3.3 องศา พืชที่ปลูกควรเป็นพืชคลุมดินใบเล็กหนา นักวิจัยเปรียบเทียบพืชสามชนิดคือ โคลงเคลง (Tibouchina urvilleana) ลิ้นกระบือ (Excoecaria cochinchinensis) และหลิวไต้หวัน (Cuphea hyssopifola H.B.K) ซึ่งมีดัชนีพื้นที่ใบและขนาดใบต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิที่ผนังทั้งสามแห่งซึ่งใช้ต้นไม้แต่ละชนิด และวัดอุณหภูมิระหว่างผนังต้นไม้กับผนังเปลือยเพื่อพิจารณาความแตกต่างของอุณหภูมิด้วย นักวิจัยพบว่า ผนังต้นไม้ลดอุณหภูมิในสภาพแวดล้อมร้อนชื้นได้ดี โดยเฉพาะผนังที่ใช้พืชใบเล็กและใบดกอย่างหลิวไต้หวันได้ผลดีกว่าพืชอีกสองชนิด การจะลดอุณหภูมิให้ได้ผลดีต่อเนื่องต้องดูแลให้พืชงอกงามดีอยู่เสมอ โดยใส่ปุ๋ยออร์แกนิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้ง   

อย่างไรก็ตาม สวนแนวตั้งช่วยกักเก็บคาร์บอนได้ไม่มากนัก ผลวิจัยพบว่า ลิ้นกระบือ ดูดกลับคาร์บอนไดออกไซด์ ในฤดูร้อนและฤดูหนาว ได้สูงสุด 903 และ 1,670 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อตารางเมตร รองลงมาคือ โคลงเคลง 814 และ 1,634 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อตารางเมตร และ หลิวใต้หวัน 804.5 และ 1505 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อตารางเมตร ตามลำดับ โดยที่ร้อยละ 50 ของคาร์บอนอยู่ในวัสดุปลูกซึ่งเป็นแหล่งอาหารของต้นไม้ เมื่อรดน้ำ น้ำก็จะชะล้างคาร์บอนไปเรื่อย ๆ ส่วนต้นไม้เองนั้นกักเก็บคาร์บอนได้เพียงร้อยละ 10 – 15 ผู้วิจัยจึงแนะนำให้เติมปุ๋ยอินทรีย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยให้ต้นไม้งอกงามดี และช่วยกักเก็บคาร์บอนด้วย

          เมื่อรู้แล้วว่า สวนแนวตั้งมีประโยชน์เช่นนี้ ก็น่าจะส่งเสริมให้ทำกันมาก ๆ ถึงจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพราะต้องดูแลมากกว่าสวนทั่วไป ทว่าเมื่อได้ดูสีเขียวเย็นตา และอากาศร้อนน้อยลง ก็จะส่งผลให้ผู้ใช้อาคารนั้นและผู้ที่เห็นอาคารสีเขียวสบายตา สบายกาย สบายใจ อารมณ์ก็จะเย็นลง โลกก็จะคลายร้อนไปด้วย นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าจริง ๆ

อ้างอิง: Charoenkit, S. and Yiemwattana, S., (2017). Role of specific plant characteristics on thermal and carbon sequestration properties of living walls in tropical climate. Building and Environment, 115, 67-79.

Photo by TED - Ideas 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank